กระเทียม (Garlic) สมุนไพรที่คนไทยมีติดครัวทุกบ้าน ในการนำมาประกอบอาหารให้รสชาติเผ็ดร้อนและมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นต้ม ผัด แกง ทอด มักจะเจอกระเทียมเป็นวัตถุดิบผสมอยู่ด้วย นอกจากนั้นกระเทียมยังมีประโยชน์มากมายที่ให้สรรพคุณทางยาได้ดีนัก
กระเทียมเป็นพืชสมุนไพร มีลำต้นใต้ดิน หัวแกลมแป้นมี 6-10 กลีบ เปลือกนอกมีเยื่อสีขาวหรือม่วงอมชมพู ส่วนใบเรียวยาวแคบแต่ปลายแหลม โคนใบแผ่เป็นแผ่นเชื่อมติดกันหุ้มรอบใบอ่อนกว่าด้านใน ส่วนดอกจะออกเป็นช่อติดเป็นกระจุกที่ปลายก้าน ดอกย่อยมีกาบหุ้มเป็นจะงอยยาว กลีบดอก 6 กลีบ ยาวแหลมมีสีขาวแต้มม่วง หรือขาวอมชมพู ส่วนผลเป็นกระเปาะสั้นรูปไข่หรือกลม มี 3 พู ส่วน ส่วนเมล็ดมีขนาดเล็กสีดำ

สรรพคุณของกระเทียม
ส่วนของขิงกระเทียมที่นำมารับประทานนั้นมาจากส่วนหัวเป็นหลัก ช่วยในการดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ทำให้อาหารมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ เพิ่มรสชาติให้อาหาร และมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรในการใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้ไอ บรรเทาอาการไข้หวัด หอบหืด ลดความดันโลหิต ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียเกือบทุกชนิด ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง และโรคบิด เป็นต้น

ข้อควรแนะนำในการรับประทานกระเทียม
ควรรับประทานวันละประมาณ 4 กรัม ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากจะทำให้เกล็ดเลือดต่ำ เลือดออกไม่หยุดและแข็งตัวช้า
คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียมดิบ 100 กรัม ให้พลังงาน 149 กิโลแคลอรี่ ดังนี้
- คาร์โบไฮเดรต 33.06 กรัม
- เส้นใยอาหาร 2.1 กรัม
- โพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม
- แคลเซียม 181 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม
- แมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม
- ซิลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม
- วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 5 0.596 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 6 1.235 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 9 3 ไมโครกรัม

สำหรับกระเทียม มีสารสำคัญที่เป็นสารออกฤทธิ์ทั้งในกลุ่มสารประกอบกำมะถัน และ สารกลุ่มฟลาวานอยด์ ซึ่งมีดังนี้
สารในกลุ่มสารประกอบกำมะถัน
- อัลลิซาติน
- อะโจอีน
- ไดแอลลิล ซัลไฟด์
- อัลเคนีล ไตรซัลไฟด์
สารกลุ่มฟลาวานอยด์
- เควอซิทิน
- ไอโซเควอซิทิน
- เรย์นูทริน
- แอสตรากาลิน